วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

พระบิดากฎหมายไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
"เองกินเหล้าเมายาไม่ว่าดอก
อย่าออกนอกทางไปให้เสียผล
แต่อย่ากินสินบาทคาดสินบน
เรามันชนชั้นปัญญาตุลาการ"
พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในสมเด็จพระปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๑๗การศึกษาพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อทรงผ่านการศึกษาแล้วได้ ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูราม สามิ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เปรียญ ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่วัดบวรนิเวศ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่ในกรุงลอนดอน ๓ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช ในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย ไครส์ตเชิช แล้วได้ ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้ ทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของมหาวิทยาลัยแห่งนั้นจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯพระราชกรณียกิจด้วยพระปรีชาสามารถอันเป็นอัจฉริยะประกอบกับพระวิริยะอุตสาหะของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมหลวง ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นเอนกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการกฎหมายไทย กล่าวคือทรงปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงตรวจชำระสะสางกฎหมายทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการสอนกฎหมาย ครั้งแรกทรงรวบรวม และแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่างๆ มากมายทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสิน ความฎีกาซึ่งทำหน้าที่ศาลสูงสุดของประเทศ ทรงตั้ง กองพิมพ์ลายมือขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ สำหรับตรวจ ลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา อันเป็นจุดเริ่มต้น ของการพิสูจน์ลายมือที่กรมตำรวจ ในปัจจุบันนอกจาก นั้นในขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิราช ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดินให้เจริญก้าวหน้า เป็นอันมากการรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ* เริ่มรับราชการในสำนักราชเลขานุการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี* เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ เพื่อจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมหัวเมืองทั้งปวง และสะสางคดีความทั่วราชอาณาจักร* เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม* เป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย* เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา* เป็นกรรมการตรวจตำแหน่งพนักงานในรัฐบาล* เป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา* เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ได้ทรงได้รับพระราชทานอนุญาติ ให้ลาพักราชการในตำแหน่งเสนบดีกระทรวงเกษตราธิราชเพื่อรักษาพระองค์ด้วย ทรงประชวรด้วยพระวัณโรคที่พระวักกะ และเสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่อาการหาทุเลาไม่ ในที่สุดได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๖๓ พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นนักนิติศาสตร์ ผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวด ทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียน กฎหมายและเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรงได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันที่ ๗ สิงหาคม อันเป็นคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ทุกปีว่า "วันรพี"

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ31 มีนาคม 2553 เวลา 00:43

    หวังว่า มี ประโยชนื ไม่มากก็น้อยนะคราฟ!

    ตอบลบ